ในที่สุดก็ได้ฤกษ์หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน (ให้จบเสียที) คือจริง ๆ เรารู้จักคนเขียนคุณ Dan Roam (คนละคนกับ Dan Brown) มานานแล้ว เพราะเคยนั่ง search หาหนังสือว่า ไอ้สิ่งที่เราชอบวาด ๆ เนี่ยมันมี framework อะไรหรือเปล่า หรือมันมีใครเคยทำ research อะไรเกี่ยวกับมันจริงจังไหม แล้วก็เลยมาเจอว่าคุณ Dan เนี่ยแหละ แกตั้งสถาบันชื่อ Napkin Academy ขึ้นมา (จริง ๆ ขาย consultation นั่นแหละ) เลยลองไปอ่านผ่าน ๆ ตามตัวอย่างที่มีใน Amazon แล้วก็ค้นพบว่า อ้อไอ้ที่เราชอบเขียน ๆ วาด ๆ เนี่ย มันเรียกว่า Visual Thinking และคนที่ทำหน้าที่ขีด ๆ เขียน ๆ เค้าเรียกว่า Graphic Facilitator / Visual Facilitator

กระนั้นเลย พอแกมาเมืองไทยจัดหลักสูตร Visual Thinking เลยก็เลยลงเรียนโดยไม่ต้องคิดเลย แล้วก็เอาเล่มนี้ไปให้แกเซนต์ด้วย (ซื้อมาจาก Kino เช้าวันนั้นเลย)

ทำไมถึงอ่านเล่มนี้?

เนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดนที่ทำงาน challenge เยอะมาก ว่าเรายังมีจุดอ่อนในการสร้าง storytelling และทำ slide presentation ไม่ impact หรือกล่าวคือยังห่างไกลกับน้องอีกคนที่ office ที่เวลาเค้า craft slide หรือทำการอธิบายอะไรซักอย่างขึ้นมา เค้าทำได้ดีกว่าเรามาก ๆ ก็มานั่งงงตัวเองว่า เอ๊ะ เราขาดอะไรไปเหรอ เราเล่าไม่เก่ง หรือเราเรียบเรียงไม่เก่ง หรือทั้งคู่วะ ก็เลยนึงหน้าแกขึ้นมาได้ เพราะแกเคยบอกว่า เวลาคิดอะไรไม่ออกให้ลองวาดรูป เลยเดินไปหยิบเล่มนี้มาอ่านต่อ (จริง ๆ แกเขียนทั้งหมด 4 เล่ม) เลือกอ่านเล่มนี้ เพราะคิดว่าใหม่สุด แกน่าจะสรุปหรือตกตะกอนอะไรได้เยอะขึ้น

สรุปเนื้อหา

  • การวาด คือ กระบวนการคิด
  • การวาด คือ เครื่องมือสร้างนวัตกรรมที่มีมาตั้งแต่มนุษย์ยุคหิน
  • ถ้าเราสามารถชักนำสายตาของผู้ฟังได้ เราจะจูงใจผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว
  • อย่าห่วงเรื่องความสวยงามหรือศิลปะ เพราะมันคนละเรื่องกัน
  • ใช้เรขาคณิตเป็นตัวช่วย เพราะรูปภาพคือการประกอบกันระหว่าง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เส้น จุด ลูกศร และเส้นยึกยือ
  • สูตร 75:25 คือ ให้เราวาดไปก่อน 75% แล้วชวนเค้าวาดด้วย 25% แต่ถ้าจะดีคือควรจะไปวาดสด ๆ ตรงนั้นเลย
  • การวาดในปัจจุบันคือ Presentation slide นั่นแหละ อย่าไปคิดเยอะ
  • chart ต่าง ๆ ใน Excel ก็คือการวาด
  • การวาดบางทีก็ช่วยทำให้เรา reframe ปัญหาได้เหมือนกันนะ เช่น การกลับรูปไปมา หรือการพลิกซ้ายพลิกขวา เดี๋ยวไอเดียมันก็จะออกมาเอง
  • กระบวนการที่สายตาเรารับรู้ภาพนั้นเกิดขึ้นในเสี้ยววินาที แต่ในเสี้ยววินาทีนั้น สมองเราที่มีมาแต่โบราณมักจะมองหาสิ่งต่าง ๆ มาประกอบให้เนื้อเรื่องมันสมบูรณ์ เช่น ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ จำนวนเท่าไหร่ อย่างไร แล้วอะไรต่อ อะไรกับอะไรเชื่อมโยงกันอย่างไร
  • การ visualize ออกมา จะสามารถชักจูงคนฟัง หรือเกิดกระบวนการปิดการขายได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะหากเราใช้เทคนิคที่ถูกต้อง เช่น การเปรียบเทียบก่อนหลัง หรือการประกอบรวมชิ้นส่วนต่าง ๆ

สิ่งที่ชอบ

  • แกวาดรูปโคตรน่ารัก และเข้าใจง่าย
  • ทุกอย่างมัน make senses ขึ้นเยอะ เวลาเราดูรูป
  • มีกรอบความคิดที่ชัดขึ้น เวลาทำ presentation
  • เขียนภาษาสนุกดี ตัวอย่างเยอะ แต่แกชอบยกตัวอย่างเดิม ๆ

สิ่งที่ไม่ชอบ

  • ไม่ชอบไอ้การที่แกบอกว่ามันต้องแยก visualize ออกเป็นตำแหน่งต่าง ๆ ในบริษัท 6 ตำแหน่ง ตามกระบวนการรับรู้รูปภาพของสมองเรา ผมว่ามันเยอะเกินไป
  • ไม่ชอบการที่แกบอกว่า story ในโลกใบนี้มันก็เหมือนกับ quest ต่าง ๆ เช่น ตามหารักแท้ หรือปราบมังกร คิดว่าอันนี้มันไม่ตรงจริตคนบ้านเราเท่าไหร่ น่าจะเอาไปใช้ด้วยยาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

%d bloggers like this: