เงินเดือนเป็นเรื่องของใคร?

เรื่องของมึง?


ผมมีโอกาสได้อ่านบทความที่น่าสนใจจากเพจในเฟซบุคอย่าง HR — The Next Gen (ผู้ซึ่งผมเดาว่า admin น่าจะต้องทำงานที่เดียวกับผมแน่นอน)

update: 2018 เค้าย้ายไปเปิดบริษัท Consult เองแล้วครับ

งานการไม่ทำนั่งอ่านแต่ดราม่าเรื่องทำงาน…

อันดับแรก สมมติว่า เงินเดือนคือเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างตกลงที่จะจ่ายให้กับผู้รับจ้างตามที่ตกลงกันและระยะเวลาที่ตกลงกัน แล้วแต่ว่าจะจ่ายด้วยวิธีใด ถ้าเราตีความเงินเดือนแบบนี้ ฉะนั้นคนที่เกี่ยวกับมันก็จะมีดังนี้:

  1. ตัวคุณเอง
  2. คนที่จ่ายคุณ
  3. คนที่ทำค่าจ้าง(เงินเดือน)ให้คุณ

ฉะนั้นถ้าเรามองตามนี้ คนที่นอกเหนือจากบุคคลดังกล่าว ถ้าไม่เสือกมาถามคุณ ก็แสดงว่าคุณเสือกไปบอกเค้าเอง #ง่ายจะตายห่า


เดี๋ยว ยังไม่จบ…

คำถามที่เค้าตั้งให้เราขบคิดคือ

เงินเดือนเท่าไหร่ ทำไมต้องเป็นความลับ?

ผมอยากให้คุณผู้ชายลองดูตารางที่น่าสนใจอันนี้ครับ

ขนาดกระเจี๊ยวจากทั่วทุกมุมโลก รูปเอามาจาก : http://www.newnownext.com/this-is-the-country-with-worlds-biggest-average-penis-size-still-not-8-though/08/2014/

ครับ ตารางข้างๆ นั้นบ่งบอกถึง “ขนาดกระเจี๊ยว” ของคนทั้งโลก (ผมว่ากระเจี๊ยวมันฟังดูน่ารักกว่าหำนะ) แต่สิ่งที่ผมอยากจะสื่อไม่ใช่เรื่องของ “ขนาด” แต่เป็นเรื่องของ “กระบวนการ” มากกว่า

ลองจินตนาการดูว่า ถ้าวันนึงบัตรประชาชนต้องระบุขนาดอวัยวะเพศ หรือไซส์หน้าอกลงไปด้วย เราจะรู้สึกอย่างไร? เราจะรู้สึกว่า

  • ความลับของเราโดนเปิดเผยง่ายเกินไป (สูญเสียคุณค่าของความลับ)
  • สูญเสียความมั่นใจหากเรารู้สึกว่า “เชี่ย! กูต่ำกว่าค่ามาตรฐาน”
  • ฮึกเหิม เพราะรู้สึกว่าสูงกว่ามาตรฐาน
  • แม่งใครเป็นคนวัดวะ! เอาอะไรมาวัด! แล้วมึงรู้ได้ไงว่ามาตรฐานจริง! (ใช้มาตรวัดอะไรมาเป็นตัวคำนวน บลาๆๆๆๆ)

… แล้วไงวะ?

งั้นลองเปลี่ยนใหม่นะครับ เปลี่ยนจากขนาดกระเจี๊ยวอะไรนั่น ให้กลายเป็นเงินเดือนแทน ทุกจะรู้สึกว่ามันเป็นความลับไหม? (กลับไปอ่านใหม่ด้านบนอีกรอบว่า ตกลงใครเกี่ยวข้องกับเงินเดือนคุณบ้าง) แล้วถ้ามัน ควร จะเป็นความหรือเปล่า และมันเป็นความลับ ระหว่างใครกับใคร?

ผมว่ามาถึงตรงนี้ ทุกคนก็จะมีคำตอบที่แตกต่างกันไป

ย้อนกลับไปในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม มีชายคนหนึ่งชื่อ Federick Taylor ผู้ซึ่งนำเสนอหลักการทางวิทยาศาสตร์ในแง่ของการบริหาร (Sciencific Management) ได้มีหลักการในการบริหารค่าจ้างแบบง่ายๆ ตามลักษณะของ Time and Motion Study (ยกตัวอย่างเช่น คนเปิดเครื่องจักร ก็จะเปิดแบบเดียวกันหมด ไม่ต้องไปคิดอะไรเกินคู่มือการทำงาน) เวลาเริ่มงาน เวลาเลิกงานก็จะเป็นแบบเดียวกัน ฉะนั้น เงินเดือน และค่าจ้างของคนในระบบนี้จึงไม่แตกต่างกันมากนัก อารมณ์นั่งแดกข้าวในโรงอาหารเดียวกันก็คุยกันเรื่องเงินเดือนได้

แต่โลกมันหมุนเร็วนะบัวลอย…

อุตสาหกรรม โรงงานประกอบ Assembly Line โรงงานทอผ้า ฯลฯ ที่แต่เดิมไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ ก็มีจนได้ เพราะว่าสังคมมันปรับเปลี่ยนไปไงครับ เราเริ่มได้รู้จักนวัตกรรมทางแรงงานในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Labor Union หรือ สหภาพแรงงาน ที่ออกมาทำลายรูปแบบ time and motion ให้กลายเป็นเรื่องของ Compensation and Benefits มากขึ้น เช่น ต้องมีค่าแรงในรูปแบบอื่นๆ เช่น ค่ากะ / OT / ค่าตำแหน่ง / ค่าความยากลำบาก ฯลฯ ขึ้นมา

มันยังไม่จบแค่นั้น…

ภายหลังจากการเข้ามาของนักคิดแนวมนุษยนิยม เช่น คุณมาสโลว์ เจ้าของบันได 5 ขั้น (ที่ปัจจุบันมันสูงกว่านั้นแล้ว)

tweet from: https://twitter.com/morten/status/503519307402600449

สมัยก่อนเงินเดือนของเรา มันก็ตอบสนอง base of pyramid ได้อยู่แล้ว (หมายความว่าแค่เงินก็พอแล้ว มันซื้อของปัจจัย 4 ได้เพียงพอ)

แต่ต่อมา หลักในการทำ HRM เปลี่ยนไป มี HRD โผล่มา ตามทฤษฎี 2 ปัจจัยของ Herzberg คนเลยยิ่งมีความรู้สึกต้องการแรงจูงใจแบบใหม่ๆ ไปต่อเรื่อยๆ ทั้ง Career Growth / การพัฒนาตามแผน IDP (Individual Development Planning) / ระบบการ Rotation งาน ฯลฯ


แล้ว… สรุปเงินเดือนเท่าไหร่ ตกลงมันบอกใครได้ป่ะวะ?

ถ้าคุณเป็น HR คุณจะบอกว่า “ไม่ได้โว้ย มันเป็นความลับระหว่างคนสามคน บริษัทไม่มีนโยบายให้เอ็งไปสมัครบัตรเครดิต ซึ่งเป็นที่มาของหนี้ และเป็นที่มาของการทุจริตในอนาคต! #ทุนนิยมนี่มันบัดซบจริงๆ”

ถ้าคุณเป็นพนักงานระดับสูง “ไม่ได้โว้ย เดี๋ยวกรูโดนตรวจสอบ ว่าทำไมมันเยอะจัง”

ถ้าคุณเป็นพนักงานปกติๆ ทั่วไป ที่ยังผ่อนคอนโด ผ่อนรถ ผ่อนภรรยาน้อย คุณอาจจะตอบว่า “เชี่ย กรูอยากรู้ ว่ากรูได้เท่าไอ้เจี๊ยบป่าว ไม่เห็นแม่งทำงานเลย” (ซึ่งถ้าไอ้เจี๊ยบได้น้อยกว่า คุณก็จะพอใจ โดยใช้หลักการเดียวกับตารางวัดกระเจี๊ยวด้านบน)

สุดท้ายแล้ว คนเราไม่เคยพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่หรอกครับ เพราะเราก็จะเที่ยวเอาอะไรต่อมิอะไรไปวัดกันคนใกล้ตัวตลอด (ผมเห็นกระทู้พันทิพย์ยังมีคนโพสต์ถามอยู่เลยว่า ทำไงดีแฟนเงินเดือนมากกว่า บลาๆ)

เงินเดือน อาจจะช่วยให้คุณวัด “ค่าของงาน” ได้ครับ
แต่อย่าปล่อยให้เงินเดือนมาวัด “ค่าของคุณ” ครับ

อย่าให้เงินเดือนมาเป็นไม้บรรทัดวัดความสุขของคุณในการทำงาน

2 thoughts on “เงินเดือนเป็นเรื่องของใคร?

  1. Hr nextgen ทำงานที่ไหนไม่รู้ แต่เห็นเล่นยิมที่ ฟิตเนสที่หนึ่ง ใช้พีทีคนเดียวกะเรา

    1. ตอนนี้นางออกไปตั้ง บ. consult ของตัวเองและครับ แรกๆ ผมชอบนะ หลังๆ ผมว่างานเขียนเค้าอิงสปอนเซอร์จนหลุดความเป็นวิชาการไปและ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

%d bloggers like this: